ภัณฑารักษ์ Curator – Art Management อาชีพน่าจับตามองในอนาคต I ทำงานอะไร ควรเรียนสาขาอะไร

เรียนต่อ Curator_art management
contemporary art market

Curator หรือ ภัณฑารักษ์

ภัณฑารักษ์ คือ ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ดูแลพิพิธภัณฑ์หรือนิทรรศการ เป็นตำแหน่งสำคัญและต้องมีความรับผิดชอบสูง ทั้งในแง่บริหารและปฏิบัติการ หน้าที่ภัณฑารักษ์สำหรับงานแสดงพิพิธภัณฑ์หรือนิทรรศการ นอกจากจะต้องมีพื้นฐานในเรื่องประวัติศาสตร์หรือเนื้อหาที่ใช้จัดแสดงแล้ว ยังจำเป็นต้องอาศัยความรู้ในการจัดการพิพิธภัณฑ์ การออกแบบการจัดแสดง เพื่อให้ความรู้ที่ต้องการสื่อกลายเป็นเรื่องราวที่น่าสนใจ นอกจากนี้ควรต้องมีความรู้เรื่องการผลิตสื่อ และการเลือกใช้สื่อในการจัดแสดงอีกด้วย

สารบัญ

ติดตามข่าวสาร และทุนการศึกษาต่างตามหัวข้อต่อไปนี้

เรียนต่ออิตาลี All Schools SCHOLARSHIP

หน้าที่ของงาน ภัณฑารักษ์

ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ดูแลพิพิธภัณฑ์หรือนิทรรศการ รวมถึงการดูแลวัตถุจัดแสดง เป็นคนที่อยู่ตรงกลางระหว่างสถาบันที่ทำงานด้วยกับผู้เข้าชม ทำหน้าที่เป็นคนเชื่อมองค์ความรู้และการสื่อสารไปสู่สาธารณะ เป็นอาชีพที่น่าจับตามองในอนาคตอันใกล้ เนื่องจากมีความสัมพันธ์กับอัตราการเติบโตของเมืองที่มีแนวโน้มว่าจะเติบโตรวดเร็วมากขึ้นเรื่อยๆ

หลายเมืองเริ่มให้ความสนใจกับอัตลักษณ์ของตนมากขึ้น การสร้างพิพิธภัณฑ์ถือเป็นหนึ่งในวิธีที่ช่วยรักษาและเผยแพร่อัตลักษณ์ของตนได้อย่างยั่งยืน ดังนั้น ภัณฑารักษ์ จึงไม่ใช่แค่ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์หรือนิทรรศการอย่างที่หลายคนมักเข้าใจ หากแต่เป็นผู้ถ่ายทอดอัตลักษณ์ เรื่องราวของพิพิธภัณฑ์หรือนิทรรศการนั้นๆ อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ สามารถออกแบบวิธีการถ่ายทอดเรื่องราวได้อย่างสร้างสรรค์

ในต่างประเทศนั้นได้ให้ความสนใจและให้ความสำคัญกับอาชีพภัณฑารักษ์มาก คนที่จะมาเป็นภัณฑารักษ์ต้องจบการศึกษาทางด้านนี้โดยเฉพาะ ไม่ใช่แค่จ้างใครก็ได้เข้ามาดูแลพิพิธภัณฑ์ ขณะที่ประเทศไทยอาชีพนี้อาจยังไม่ได้รับความนิยมมากนัก แต่ในอนาคตถือเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่กำลังมาแน่นอน เพราะประเทศไทยมีพิพิธภัณฑ์อยู่ทั่วทุกหัวระแหง แต่พิพิธภัณฑ์ที่กล่าวมานั้นมักเป็นพิพิธภัณฑ์ที่ไม่มีชีวิต เป็นพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงวัตถุโบราณเพียงอย่างเดียว ผนวกกับการบริหารจัดการที่ยังขาดองค์ความรู้ ทำให้เมืองไทยยังขาดภัณฑารักษ์อีกมากมาย

ใครเหมาะกับงานภัณฑารักษ์

ทักษะและบุคลิกที่ดีของคนที่เหมาะจะเป็นภัณฑารักษ์

ควรเป็นคนที่มีลักษณะนิสัยช่างสังเกต ชอบวิเคราะห์ วิจารณ์และควรมีทัศนคติในแง่ดี ไม่ปิดกั้นข่าวสาร ชอบและหลงใหลในงานศิลปะ รักการอ่าน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการคิดสร้างสรรค์ธีม แนวคิด หรือสังเคราะห์เนื้อหาให้กลายเป็นประเด็นที่น่าสนใจ ต้องเป็นคนไม่หยุดนิ่ง เห็นทุกเรื่องรอบตัวเป็นเรื่องสนุก ต้องติดตามข่าวสารรอบด้าน และที่สำคัญควรมีทักษะในการสื่อสารที่ดี และมีมนุษย์สัมพันธ์ดีเยี่ยมด้วย

สายงานการทำงานของภัณฑารักษ์

ด้วยกระบวนการทำงานของโลกเปลี่ยนไป สายงาน และหน้าที่ตำแหน่งงานของภัณฑารักษ์ จึงมีบทบาทเพิ่มเติมและครอบคลุมการทำงานมากยิ่งขึ้น ซึ่งอาจถือเป็นเรื่องดีที่ท้าทายสำหรับคนที่หลงใหลและสนใจอาชีพนี้ อีกทั้งองค์กร หรือหน่วยงาน ภาครัฐ หรือเอกชนต่างๆ ต่างก็ให้ความสนใจในอาชีพภัณฑารักษ์มากยิ่งขึ้นเพราะด้วยขอบเขตการทำงานครอบคลุมถึงงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับงานศิลปะมากมาย เช่น โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และวัตถุที่มีคุณค่าในเรื่องราวต่างๆ ได้แก่ อารยธรรม ศิลปวัฒนธรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมถึงทรัพย์สินอันมีค่าของแผ่นดิน

นอกจากนี้ภัณฑารักษ์ต้องทำหน้าที่บริหารจัดการงานนิทรรศการ พิพิธภัณฑ์ ดูแลสถานที่จัดแสดงและสิ่งของที่จะนำมาจัดแสดง โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติเกี่ยวข้องนับตั้งแต่ การสำรวจ การจัดหา การเก็บรวบรวม การจัดทำบันทึกหลักฐาน การศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัย การตรวจพิสูจน์เพื่อกำหนดอายุ ยุคสมัย ประวัติความเป็นมา การจำแนกประเภท การคุ้มครอง ดูแล อนุรักษ์ ซ่อมสงวนรักษา ไปจนถึงการจัดทำสื่อต่างๆ เพื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ การให้ความรู้และให้บริการทางการศึกษา การประเมินคุณค่า ตลอดจนการพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับการขออนุมัติอนุญาตในเรื่องต่างๆ ตามที่กฎหมายกำหนด และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง

(ขอบคุณที่มา okmd.tv)

หากคุณสมบัติข้างต้น ตรงกับความสนใจของคุณ !

เราขอแนะนำ หลักสูตรปริญญาโท 1 ปี ที่สำคัญไม่จำเป็นต้องมีความสามารถด้านศิลปะ หรือออกแบบโดยตรง ขอเพียงมีใจที่รักในงานศิลปะ ประวัติศาสตร์ศิลปะ สนใจทำงานด้านการบริหาร การจัดการพิพิธภัณฑ์ นิทรรศการ ใช้เวลาเรียนอย่างเข้มข้น 1 ปี เน้นการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ เยี่ยมชมดูงานนิทรรศการ และฝึกงานก่อนเรียนจบ

master curator art management

Credit: Christian Fregnan on Unsplash

หลักสูตร Art Management, Curatorial Management และ Contemporary Art Markets ล้วนเป็นหลักสูตร ปริญญาโทเข้มข้น ใช้เวลาเรียน 1 ปี

หลักสูตรทั้งสามนี้ มีความคล้ายกันอย่างไร ?

ทั้งสามหลักสูตรนี้จะคล้ายกัน คือ เน้นเกี่ยวกับการจัดการศิลปะ ทั้งในส่วนของชิ้นงานศิลปะ ไปจนถึงการจัดการงานอีเวนต์และนิทรรศการศิลปะ และเพื่อให้ผู้เรียนสามารถผลิตคอนเทนต์เกี่ยวกับศิลปะได้ ผู้เรียนจะได้เรียนเกี่ยวกับวงการศิลปะที่ครอบคลุมตั้งแต่ประวัติศาสตร์ศิลปะ ศิลปะร่วมสมัย กฎหมาย การเงิน ตลาดซื้อขาย ธุรกิจ การตลาด นอกจากนี้จะต้องเรียนการคิดวิเคราะห์ ตีความ และวิจารณ์ผลงานศิลปะ และอาจลงลึกไปถึงขั้นทำงานวิจัย ผู้เรียนจะต้องจับประเด็นสำคัญและเชื่อมโยงผลงานศิลปะต่าง ๆ จากนั้นจึงคัดสรร จัดการ และดูแลผลงานเหล่านั้น แล้วนำเสนอออกมาในนิทรรศการผ่านธีมหลักได้

หลักสูตรทั้งสามนี้ มีความแตกต่างกันอย่างไร ?

ทั้ง 3 หลักสูตรนี้เป็นคนละหลักสูตรกัน แน่นอนว่าต้องมีสิ่งที่แตกต่างหรือสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละหลักสูตร เราลองมาดูกัน

  • Art Management มีเปิดสอนที่สถาบันชื่อดังในเมืองฟลอเรนซ์ เน้นเกี่ยวกับศิลปะเท่านั้น ไม่ไปแตะด้านแฟชั่นหรือการออกแบบเท่าไหร่ มีทัศนศึกษาตามพิพิธภัณฑ์และโบราณสถานต่าง ๆ ทั่วเมืองฟลอเรนซ์ (จากข้อมูลขององค์กร UNESCO ฟลอเรนซ์เป็นเมืองที่มีมรดกโลกมากที่สุดในโลก จึงเป็นเมืองที่เหมาะที่สุดสำหรับผู้ที่สนใจเรียนด้านนี้)
  • Curatorial Management มีเปิดสอนที่สถาบันชื่อดังในเมืองฟลอเรนซ์ เน้นทั้งศิลปะและแฟชั่น จะเรียนกันในแง่มุมที่ว่าศิลปะกับแฟชั่นมีความเชื่อมโยงกันอย่างไร นอกจากนี้ยังเน้นเรียนเกี่ยวกับการเป็นภัณฑารักษ์ (curator) และมีทัศนศึกษาเช่นเดียวกัน
  • สุดท้าย สาขา Contemporary Art Markets มีเปิดสอนที่สถาบันชื่อดังในเมืองมิลาน แตกต่างจากสองหลักสูตรข้างต้นตรงที่จะเน้นเกี่ยวกับศิลปะร่วมสมัยเป็นหลัก มีทัศนศึกษาตามพิพิธภัณฑ์ แกลเลอรี่ และงานแฟร์ต่าง ๆ ก่อนเรียนจบผู้เรียนจะได้เดินทางไปดูงาน Art Basel อีกทั้งยังมีการฝึกงานเพื่อให้ผู้เรียนได้นำความรู้ที่เรียนมาใช้จริง
  • นอกจากนี้ สถาบันชั้นนำ อย่าง NABA มิลาน อิตาลี ยังเปิดสอนหลักสูตรปริญญาโท 2 ปี สำหรับผู้ที่ต้องการเรียนเฉพาะทางด้าน curator ผนวกกับการสร้างสรรค์ผลงาน จัดงานศิลปะด้านวิชวลอาร์ตร่วมด้วย ในสาขา Visual Arts and Curatorial Studies เนื้อหาวิชาในหลักสูตรประกอบไปด้วย 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ การเรียนการสอนเกี่ยวกับโลกของศิลปะ การเป็น Curator ไปจนถึงการสร้างสรรค์ผลงานโดยใช้เทคนิค การวาด ออกแบบกราฟิก ตัดต่อวิดีโอ ถ่ายภาพ ออกแบบเสียง ฯลฯ เพราะฉะนั้น หลักสูตรนี้จะเหมาะกับผู้ที่มีพื้นฐานด้านศิลปะมาก่อน ถ้าใครพอมีพื้นฐานแล้วอยากฝึกฝนเพิ่มเติม รวมถึงอยากเรียนรู้เกี่ยวกับการเป็นภัณฑารักษ์ สามารถลงเรียนหลักสูตรนี้ได้ค่ะ
Discover the Master in Contemporary Art Markets
NABA, Milano

สรุป จบแล้วไปไหน ?

คำถามสำคัญเลยนะคะข้อนี้ ในปัจจุบันนี้ เราเชื่อว่าหลาย ๆ คนคงรู้สึกได้ถึงกระแสและความสนใจศิลปะที่กำลังเติบโตขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะในประเทศไทย สังเกตได้จากการจัดนิทรรศการศิลปะทั้งจากในประเทศและจากต่างประเทศ รวมถึงกระแสใน social network ต่าง ๆ ที่มีการพูดคุยในประเด็นที่เกี่ยวกับศิลปะกันอย่างกว้างขวางมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเด็นที่เกี่ยวกับความสำคัญของศิลปะ การเติบโตดังกล่าวทำให้วงการศิลปะในไทยเริ่มขยับขยาย และส่งผลให้ความต้องการกำลังคนที่จะมาขับเคลื่อนวงการศิลปะเพิ่มมากขึ้น
นอกจากนี้ เราลองมองไปที่ประเทศที่มีความเจริญทางศิลปะแล้วอย่างในยุโรป ศิลปะได้หลอมรวมเป็นส่วนหนึ่งของผู้คนตั้งแต่รุ่นเด็ก ไปจนถึงรุ่นคุณปู่คุณย่าคุณตาคุณยาย ด้วยเหตุนี้ ผู้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับศิลปะจึงสำคัญและเป็นที่ต้องการมากในสังคม

ผู้ที่เรียนจบหลักสูตรข้างต้นมาสามารถประกอบอาชีพในแวดวงศิลปะ และแฟชั่นได้หลากหลายเลยค่ะ ผลสำรวจจาก Ipsos Observer บอกว่า อัตราการจ้างงานของผู้ที่เรียนจบสาขานี้นั้นสูงถึง 89% เราลองไปดูทางเลือกอาชีพกันเลยดีกว่า
  1. สายตรง: ภัณฑารักษ์ ผู้จัดการหอศิลป์ ผู้อำนวยการหอศิลป์ผู้จัดการงานอีเวนต์และนิทรรศการศิลปะ
  2. สายธุรกิจ: ผู้ค้างานศิลปะ ธุรกิจในแวดวงศิลปะ
  3. สายนักเขียน: นักเขียนเกี่ยวกับศิลปะ นักวิจารณ์และนักข่าวเกี่ยวกับศิลปะ บรรณาธิการนิตยสารและหนังสือเกี่ยวกับศิลปะ
  4. สายคอนเซาต์: ที่ปรึกษาด้านศิลปะ ที่ปรึกษาด้านกฎหมายและการเงินสำหรับศิลปะ ที่ปรึกษาตามสถานที่จัดการประมูลผลงานศิลปะ

ภัณฑารักษ์ เริ่มต้นเงินเดือนเท่าไหร่

จากประสบการณ์ การสอบถามผู้ที่อยู่ในสายงาน

  • ภัณฑารักษ์ ที่เรียนจบใหม่ อัตราเงินเดือนเฉลี่ย 20,000 – 25,000 บาท
  • ภัณฑารักษ์ ที่เรียนจบปริญญาโท และ มีประสบการณ์ อัตราเงินเดือนเฉลี่ย 30,000 – 50,000 บาท
  • ภัณฑารักษ์ ที่มีประสบการณ์สูงนั้น เงินเดือนอาจจะสูงถึง 100,000 บาทเลยทีเดียว

อย่างไรก็ตาม อย่าเพิ่งคิดว่าอาชีพที่กล่าวมาข้างต้นน่าเบื่อนะคะ อย่างอาชีพ Curator อาจจะฟังดูน่าเบื่อ แต่จริง ๆ แล้วไม่ใช่เลย ตรงกันข้ามผู้ที่จะทำงานนี้ต้องมีความรับผิดชอบสูง แอคทีฟตลอดเวลา เพราะนอกจากจะต้องคอยดูแลคอลเลกชันศิลปะแล้ว งานหลัก ๆ ของ Curator คือ การหางานศิลปะมาจัดนิทรรศการ คิดธีมงานให้น่าสนใจเพื่อให้คนเข้าชม ถือว่าเป็นงานที่ใช้ทั้งความคิดสร้างสรรค์และองค์ความรู้ในด้านศิลปะอย่างแท้จริงเลยค่ะ

อ่านแล้วเป็นยังไงกันบ้างคะ สำหรับใครที่มีใจรักศิลปะอาจลองเก็บ 3 ตัวเลือกข้างบนไว้พิจารณาเป็นทางเลือกเรียนต่อ ป.โท เรามั่นใจว่าคนที่มี Passion ด้านศิลปะจริง ๆ ถ้าหากได้ไปเรียนที่นี่จะเป็นการเปิดโลกวงการศิลปะให้กว้างขึ้นสุด ๆ และเรียนสนุกในเมืองที่มีบรรยากาศของเมืองแห่งศิลปะอย่างฟลอเรนซ์ และมิลานอย่างแน่นอนค่ะ

สำหรับผู้ที่สนใจ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถทักแอดมินของเราได้เลยค่ะ ที่ Line (ID: @artvise_education)

สถาบันชั้นนำที่เปิดสอนด้าน Art Management, Curatorial Management และ Contemporary Art Markets

ISTITUTO MARANGONI

Milan-Florence-London-Paris

read more

NABA

Milan-Rome, Italy

read more

สอบถามข้อมูลการเรียนการสอน และสถาบันเพิ่มเติมได้ที่นี่