จากผลสำรวจอาชีพใหม่ ๆ ที่มาแรง เรามักจะได้ยินคำว่า UX และ UI Designer กันอยู่เสมอ อาชีพนักออกแบบในสาขานี้นับเป็นหนึ่งอาชีพที่มีอัตราการเติบโตสูงสุดเป็นอันดับต้น ๆ หากสนใจเรียนต่อสาขา มาทำความรู้จักสายอาชีพ UX UI และมาดูกันค่ะ ว่าเรียนสาขานี้ เราสามารถเรียนได้ที่ไหนดี
(สถิติตัวเลขในเว็บ LinkedIn ปี 2008 มีผู้ระบุว่าตนทำอาชีพนี้จำนวน 159 คน ในขณะที่ปี 2016 มีจำนวนถีบตัวสูงขึ้นถึงราว 5 แสนคน – เพิ่มขึ้นร้อยกว่าเท่าในเวลาเพียงแปดปี)
สำหรับนักออกแบบแล้ว คงคุ้นชินกับ UX UI แต่หลาย ๆ คนอาจยังสงสัย ว่า UX UI คือใคร ทำงานอะไร มีบทบาทสำคัญต่อวงการออกแบบ และอุตสาหกรรมอื่น ๆ อย่างไร ตรงกับความสนใจของเราหรือไม่ แล้วถ้าอยากทำงานในสายนี้ ต้องเรียนอะไร…เรามาหาคำตอบกันเลย
สารบัญเนื้อหา
- ความหมายของ UX / UI
- หลักสูตรเรียนต่อปริญญาโท 1 ปี
- คุณสมบัติของผู้สมัครเรียน
- อาชีพของผู้ที่เรียนจบด้าน UX / UI
- สรุป
เริ่มต้นจาก นิยาม ของ UX UI
UX ย่อมาจากคำว่า User Experience
UX (User Experience) คือ การออกแบบประสบการณ์ โดยเริ่มต้นจากการเก็บข้อมูลของผู้ใช้ (user) ด้วยวิธีการหลากหลาย และนำข้อมูลไปวิเคราะห์ การทดสอบเรื่อง UX นี้ควรทำทั้งก่อนและหลังเปิดตัวสินค้า โดยครอบคลุมทั้งสินค้า-บริการดิจิตอล และสินค้า-บริการทั่วไปด้วย
งานออกแบบด้านนี้จะเกี่ยวข้องกับทุกกระบวนการที่สินค้าหรือบริการหนึ่งๆ มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้ โดยเน้นไปที่การนำสินค้าหรือบริการไปทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง ทั้งนี้เพื่อจะเก็บข้อมูล โดยมีหลากหลายวิธีการ อาทิ การทำ Survey จากกลุ่มตัวอย่าง การสัมภาษณ์ และ ฟีดแบคอย่างละเอียดกลับมา เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาพัฒนาสินค้า หรือบริการต่อไป
ผลงานของ UX Designer มักออกมาในรูปของรายงานการทดสอบสินค้าหรือบริการหนึ่ง ๆ เกิดจากการสังเกต ติดตามผล และการวิเคราะห์ในแต่ละขั้น เพื่อจะตอบคำถาม เช่นว่า ใครใช้ ใช้ทำอะไร ใช้อย่างไร หรือ ใช้ในสภาพแวดล้อมไหน อย่างละเอียด จากนั้นนักออกแบบ UX ก็จะนำข้อมูลเหล่านี้มาจัดลำดับความสำคัญ เพื่อให้เห็นว่าสินค้าหรือบริการนั้นๆ มี ฟังก์ชั่น หรือ ฟีเจอร์ อะไรบ้างที่สำคัญกับกลุ่มเป้าหมาย นำไปสู่การปรับปรุงสินค้า/บริการให้ตรงใจ และแก้ปัญหาได้รวดเร็วอย่างตรงจุด
UI ย่อมาจากคำว่า User Interface
UI (User Interface) คือ งานดีไซน์ที่เน้นหนักเรื่องการออกแบบ หน้าจอ หรือแพลทฟอร์มต่างๆ ที่ธุรกิจทำไว้เพื่อติดต่อกับผู้ใช้ ยกตัวอย่างเช่น เว็บไซต์ แอพลิเคชั่น เกมส์ รวมไปถึงฮาร์ดแวร์ที่จับต้องได้เช่น อุปกรณ์จอทัชสกรีน ฯลฯ
สำหรับเนื้องานของนักออกแบบ UI นั้นก็จะต้องปรากฏให้เห็นเป็นรูปธรรมได้ เพื่อว่านักพัฒนาแอพฯ หรือโปรแกรมเมอร์จะสามารถนำไปใช้ต่อยอดได้ทันที ทักษะสำคัญของนักออกแบบ UI ไม่เพียงแต่จะต้องดีไซน์สิ่งที่สวยงามน่าใช้ แต่ยังต้องดูเป็นมิตร เข้าใจง่าย (User-friendly) เช่น มีปุ่ม ไอคอน หรือสัญลักษณ์ต่างๆ ที่บ่งชี้ฟังก์ชั่นในตัวเอง มีภาษาภาพอันเป็นแนวทางมาตรฐานที่ผู้ใช้ในแต่ละยุคเข้าใจได้
ความท้าทายจึงอยู่ที่การออกแบบให้ลงตัวระหว่างความโดดเด่น มีบุคลิกแตกต่าง แต่ก็ต้องไม่ต่างจนเกินไป ลำบากถึงผู้ใช้ให้ต้องมาเรียนรู้ใหม่ด้วย ฉะนั้นสำหรับ UI Designer นอกจากคุณจะมีไอเดียด้านการออกแบบอยู่ในหัว มีฝีมือในการรังสรรค์ชิ้นงานขึ้นมา คุณยังต้องตามติดโลกและไลฟ์สไตล์ยุคใหม่ให้ทันอยู่เสมอ เพื่อจะรู้ว่ากลุ่มเป้าหมายของคุณนั้นใช้ชีวิตกันอย่างไร โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่คุณรับผิดชอบอยู่
(ขอบคุณที่มา TCDC)
จะเห็นได้ว่า UI จะเป็นสาขาที่เกี่ยวโยงกับการออกแบบ จึงจำเป็นต้องมีพื้นฐาน การออกแบบ ส่วน UX นั้น เน้นทักษะการทดสอบ ช่างสังเกต รู้จักคิดวิเคราะห์ ประมวนผล สรุปผล และมีความเข้าใจในสินค้า ธุรกิจ และผู้บริโภคเป็นสำคัญ อย่างไรก็ดีทั้งสองสาขานี้ จะทำงานใกล้ชิด และต่อเนื่องกัน
หากคุณสมบัติข้างต้น ตรงกับความสนใจของคุณ !
เราขอแนะนำ หลักสูตรปริญญาโท 1 ปี จากสถาบันออกแบบชั้นนำ ที่มีความโดดเด่นด้านสถาบันออกแบบ และเป็นผู้นำในแนวคิด Technology – Digital – Creative Thinking
UX / UI ปริญญาโท 1 ปี
สาขา Service Design และ Interaction Design
Credit: Patrick Perkins on Unsplash
ปริญญาโท 1 ปี หลักสูตร Interaction Design และ Service Design คืออะไร ? มีความแตกต่างกันอย่างไร ?
ถึงแม้ว่า ทั้งสองสาขา จะทำงานใกล้ชิด และต่อเนื่องกัน สถาบัน Domus Academy ได้แยกหลักสูตรทั้งสองนี้ ออกจากกัน เพื่อให้ผู้เรียนได้เลือกตามความสนใจ
- สาขา Service Design จะเรียนเกี่ยวกับการเล่าเรื่อง (Storytelling) การสร้างต้นแบบ (Prototyping) การแก้ปัญหา (Problem-solving) และการออกแบบธุรกิจ (Business Design)
ผู้เรียนจะได้นำสิ่งที่ได้เรียนไปประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาไอเดียด้านการบริการที่เข้าถึงง่าย เรียนรู้ที่จะสังเกตพฤติกรรมของผู้ใช้งาน ต้องมองเห็นถึงความต้องการที่ยังไม่เติมเต็มของลูกค้า แล้วพัฒนาระบบและแนวทางการบริการทั้งแบบกายภาพและแบบเหมือน - ส่วนสาขา Interaction Design จะเป็นหลักสูตรที่เน้นทาง UI Design (หรือ User Interface) เรียนเกี่ยวกับการสร้างผลิตภัณฑ์ บริการ หรือพื้นที่ที่ผู้คนมักจะมามีปฏิสัมพันธ์กัน ผ่าน Interface ที่มีหน้าตาที่ใช้งานง่าย และเป็นระบบสัมผัส มีความสร้างสรรค์และทันสมัย
ผู้เรียนจะได้เรียนรู้วิธีกำหนดปัญหา และแนวทางแก้ไข ในเรื่องของปฏิสัมพันธ์ของคน และประสบการณ์ของผู้ใช้งาน นอกจากนี้จะได้เรียนรู้ทิศทางการตลาด วิเคราะห์เทรนด์และพฤติกรรมของผู้บริโภค รวมถึงการแบรนดิ้ง (Branding)
พูดง่าย ๆ ก็คือ Service Design จะเป็นการหาวิธีการต่าง ๆ หรือสร้างสรรค์อะไรใหม่ ๆ ขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหา และเติมเต็มความต้องการของผู้ใช้ ส่วน Interaction Design จะเป็นการออกแบบหน้าตาของสินค้า บริการ และแพลตฟอร์มต่าง ๆ เพื่อให้สวยงามไม่พอ ต้องใช้งานได้ง่ายด้วยนั่นเอง
ทั้งนี้ ทั้งสองสาขาจะได้เรียน และทำเวิร์คชอปกันอย่างใกล้ชิด เนื่องจากในการทำงานจริงนั้น สองสาขานี้ มีความเกี่ยวเนื่องกันด้วยเนื้องาน ลักษณะของงาน การทำงานที่ส่งต่อกัน จึงควรจะมีความรู้ควบคู่กันไปนั่นเอง
นอกจากนี้ ด้วยเอกลักษณ์การเรียนของ Domus Academy ทั้งสองหลักสูตรจะเป็นหลักสูตรแบบ Workshop-Based เน้นการเรียนภาคปฏิบัติเป็นหลัก อันเป็นเอกลักษณ์การเรียนการสอนของทางสถาบัน นอกจากนั้นยังมีสัมมนา การบรรยาย การเรียนทฤษฎีประมาณ 30%
ในส่วนของ workshop จะมีจำนวนทั้งหมด 4 ครั้ง และจะมีในส่วนของการฝึกงานก่อนเรียนจบ โดยทั้งสองหลักสูตรจะมีผู้เชี่ยวชาญในวงการ หัวหน้าหลักสูตร และหัวหน้าโปรเจกต์ เป็นผู้สอนและให้คำปรึกษารายบุคคล
- Workshop ของหลักสูตร Service Design นำโดยผู้เชี่ยวชาญในวงการและอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิของสถาบันเช่นกัน ผู้เรียนจะได้ทำงานร่วมกับบริษัทชั้นนำเพื่อปรับปรุงบริการที่มีอยู่และสร้างประสบการณ์ใหม่ ๆ ให้ผู้ใช้งาน เพื่อที่จะปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้บริการและลูกค้า ผู้เรียนจะได้เรียนรู้การแก้ปัญหาโดยใช้มนุษย์เป็นศูนย์กลางด้วยเทคโนโลยี เรียนรู้เกี่ยวกับ Visual Design รวมถึงปัจจัยต่าง ๆ ของมนุษย์เพื่อที่จะสร้างประสบการณ์การบริการที่ใช้งานง่ายและเข้าถึงง่าย
- Workshop ของหลักสูตร Interaction Design นำโดยผู้เชี่ยวชาญในวงการและอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิของสถาบัน ผู้เรียนจะได้ทำงานร่วมกับบริษัทชั้นนำเพื่อพัฒนาโปรเจกต์ในส่วนของ Physical Computing และ Haptic Interfaces รวมถึงเรียนรู้ที่จะคาดคะเนความต้องการ ความคาดหวัง และความปรารถนาของผู้ใช้งาน
สำหรับในส่วนของการฝึกงาน ผู้เรียนจะได้เลือกที่ฝึกงานเอง เพื่อที่จะได้รับประสบการณ์การทำงานโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นการทำงานที่บริษัท หรือการทำโปรเจกต์ในสถาบัน ร่วมกับบริษัท ผู้เรียนจะได้รับคำแนะนำจากผู้ที่อยู่ในวงการ ได้เห็นมุมมองของสายอาชีพนี้ผ่านการเข้าไปทำงานจริง รวมถึงเป็นการสร้างคอนเนคชั่นไปในตัวด้วย
ตัวอย่างบริษัทที่ร่วมทำ workshop กับนักศึกษา Adobe, Cisco, Condé Nast Italia, Italian Hospitality Collection, Kickstarter, Mattel, Nokia, Park Hyatt Milano, Repower และ Samsung
ผู้สนใจสมัครเรียนต้องมีคุณสมบัติยังไงบ้าง ?
ตามที่เกริ่นไปข้างต้น สาขา Service Design เน้นการเรียนเกี่ยวกับ การเล่าเรื่อง (Storytelling) การสร้างต้นแบบ (Prototyping) การแก้ปัญหา (Problem-solving) และการออกแบบธุรกิจ (Business design) ดังนั้นผู้เรียน ไม่จำเป็นต้องจบสายออกแบบ หรือไม่จำเป็นต้องยื่น Portfolio ในการสมัครเข้าเรียน
ผู้สนใจสมัคร สามารถเขียน Essay เพื่อทดสอบ Analytical Skill ซึ่งเป็นโจทย์ที่ทางสถาบันกำหนดขึ้น (สอบถามโจทย์การเขียน Essay กับเราได้เลยค่ะ) ทั้งนี้สาขานี้เปิดกว้างสำหรับนักศึกษา ผู้ที่สนใจและมีประสบการณ์ทางด้าน Creative Coding Business Design, New Media, วิทยาศาสตร์การสื่อสาร จิตวิทยา หรือ สังคมวิทยา เป็นต้น อย่างไรก็ดี ผู้ที่เรียนจบ ป.ตรี หรือมีประสบการณ์การทำงานในวงการออกแบบ สามารถยื่นผลงาน Portfolio สมัครเรียนได้ค่ะ
Interaction Design นั้น เป็นสาขาที่เน้นการออกแบบ ผู้สนใจสมัครเรียน จะต้องเรียนจบ ปริญญาตรี หรือมีประสบการณ์ในการทำงานในด้านการออกแบบ มีความรู้ ความสามารถในการใช้โปรแกรมออกแบบ นอกจากนี้ ผู้ที่มีประสบการณ์การทำงานในด้านวิทยาศาสตร์การสื่อสาร จิตวิทยา หรือ สังคมวิทยา ที่สนใจในเรื่อง Information design ก็สามารถสมัครเรียนได้ แต่ต้องยื่นผลงาน Portfolio ด้วย (ปรึกษา การทำ Portfolio กับทางเราได้เลยค่ะ)
เรียน UX UI จบแล้ว ทำงานอะไรได้บ้าง ?
UX จะเน้นการทำงานเกี่ยวกับการหาขั้นตอน วิธีการต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ – ส่วน UI จะเป็นการทำงานเกี่ยวกับการออกแบบสินค้าและบริการต่าง ๆ ให้สวยงามและสะดวกต่อการใช้งานของผู้ใช้นั่นเอง
ผู้ที่เรียน Interaction Design และ Service Design สามารถทำอาชีพนี้ได้โดยตรง อาชีพนี้กำลังเป็นที่ต้องการอย่างมากในปัจจุบัน ก็เพราะบริษัทนั้น ล้วนแล้วแต่อยากให้สินค้า และบริการของตัวเองตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค มีหน้าตาที่สวยงาม ใช้งานสะดวก และเข้าถึงได้ง่ายกันทั้งนั้น
ซึ่งถ้าหากทำได้ มันจะเป็นการดึงดูดลูกค้าให้เข้ามาซื้อสินค้าและบริการได้มากขึ้นนั่นเอง ดังนั้น ผู้ที่เรียนจบสาขานี้จึงกำลังเป็นที่ต้องการอย่างมากในยุคนี้ ทั้งจากหน่วยงานในภาครัฐและเอกชน นอกจากนี้ ผู้ที่เรียนจบสามารถหางานที่บริษัทต่าง ๆ หรือจะเปิดธุรกิจส่วนตัวก็ได้เช่นกัน
อาชีพสำหรับผู้ที่จบสาขา Service Design
- Service designer
- User experience designer
- User interaction designer
- Design strategist
- Interaction designer
- Coder
อาชีพสำหรับผู้ที่จบสาขา Interaction Design
- Interaction designer
- User experience designer
- User interface designer
- Visual designer
- Digital strategist
- Design manager
เรียกได้ว่าเป็นหลักสูตรที่จะพาเราไปสู่สายงานที่มาแรงสุด ๆ แห่งยุคเลยก็ว่าได้
สำหรับผู้ที่สนใจ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถทักแอดมินของเราได้เลยค่ะ ที่ Line: goo.gl/x7QNUa (ID: @artvise_education)
เรียน UX UI ที่ไหนดี
สถาบันชั้นนำที่เปิดสอนด้าน Service Design และ Interaction Design
สรุป
อาชีพ UX UI ยังถือว่าเป็นสายงานที่มีการเติบโตอย่างมากในอนาคต และสามารถนำไปต่อยอดได้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจออกแบบ หรือ ธุรกิจบริการ หากใครสนใจอยากเรียนต่อปริญญาโทในด้านนี้ และยังไม่รู้ว่าไปเรียนต่อที่ไหน แนะนำ Domus Academy และ POLI.design สถาบันออกแบบอันดับหนึ่งในมิลาน